นักวิทย์ฯ อังกฤษกังวล วัคซีน อาจใช้กับ โควิดกลายพันธุ์ ไม่ได้

นักวิทย์ฯ อังกฤษกังวล วัคซีน อาจใช้กับ โควิดกลายพันธุ์ ไม่ได้

นักวิทยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษได้ออกมาแสดงความกังวลว่า วัคซีน อาจใช้กับ โควิดกลายพันธุ์ ไม่ได้ผล แม้ผู้ผลิตจะมั่นใจว่าใช้ก็ได้ตาม เมื่อวันที่ 5 มกราคม สำนักข่าว CBC รายงานว่า นาย ไซม่อน คลาร์ก นักวิทยาศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยเรดดิ่ง ของประเทศอังกฤษ ได้ออกมาแสดงความกังวลว่าวัคซีนโควิด-19 อาจใช้กับโควิดกลายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในหลายพื้นที่ทั่วโลกไม่ได้ผล โดยเฉพาะสายพันธุ์ในแอฟริกาใต้ที่มีการกลายพันธุ์เป็นอย่างมาก

โดย นาย คลาร์ก กล่าวว่าเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์หลายจุด 

รวมไปถึงบริเวณสไปก์โปรตีน (Spike Protein) ซึ่งเป็นโครงสร้างชั้นนอกของไวรัส และ เป็นบริเวณที่จับกับตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์ของมนุษย์และสัตว์ ส่งผลให้มนุษย์หรือสัตว์ป่วยเป็นโรคโควิด-19 โดยการกลายพันธุ์ในบริเวณดังกล่าว อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของวัคซีนไม่ตอบสนองได้

เช่นเดียวกันกับ นาย ลอว์เลนซ์ ยัง นักวิทยาศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยวาร์วิก ก็ได้ให้สัมภาษณ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยกล่าวว่าการกลายพันธุ์หลายครั้งของโรคโควิด เชื้อสายแอฟริกาใต้ อาจจะทำให้เชื้อไวรัสเล็ดลอดวัคซีนไปได้

อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตวัคซีนหลายเจ้าเคยได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าพวกเขามั่นใจว่าวัคซีนที่ถูกผลิตขึ้นน่าจะใช้กับโควิดกลายพันธุ์ได้ โดยขณะนี้ทางผู้ผลิตวัคซีนกำลังศึกษาและทดลองเพิ่มเติมว่าวัคซีนสามารถใช้กับโควิดกลายพันธุ์ได้จริง

เภสัชสหรัฐฯ ยอมรับว่าเขาเป็นคน ทำลายวัคซีน โควิด โดยเขาเชื่อว่า วัคซีนโควิดเป็นอันตรายกับผู้ได้รับวัคซีน เมื่อวันที่ 5 มกราคม สำนักข่าว ABC รายงานว่า นาย สตีเฟน แบรดเดนเบิร์ก เภสัชกรชาวอเมริกันวัย 46 ปีในรัฐวิสคอนซิน ได้ทำลายวัคซีนโมเดอร์นา วัคซีนต้านโควิด-19 มากกว่า 500 โดส โดยให้เหตุผลว่าวัคซีนชนิดดังกล่าวไม่ปลอดภัย และอาจเปลี่ยนพันธุกรรมได้

นาย แบรดเดินเบิร์ก ได้นำวัคซีนจำนวน 57 ขวดหรือราวๆ 570 โดสวางไว้นอกตู้เย็นของทางโรงพยาบาลเมื่อช่วงคืนวันที่ 24 และ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้วัคซีนชนิดดังกล่าวเสียและไม่สามารถใช้การได้ โดยตามปกติแล้ววัคซีนโมเดอร์นาต้องถูกแช่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิราว 2 ถึง 6 องศาเซลเซียส

ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวว่าโดสที่ได้รับความเสียหายน่าจะมีมูลค่าราวๆ 3 แสนบาท  อย่างไรก็ตามในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มูลค่าของโดสจะสูงขึ้นไปอีก

ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าวัคซีนได้ส่งผลอย่างที่นาย แบรดเดนเบิร์กกล่าวอ้างผู้ก่อเหตุมีกำหนดขึ้นศาลอีกครั้งในวันที่ 19 มกราคมนี้

เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในประเทศโปรตุเกส ตาย ปริศนา หลังจากที่เธอเพิ่มรับการฉีด วัคซีนโควิด ได้ 48 ชั่วโมง คาดรู้ผลเร็ว ๆ นี้ ยังไม่สรุปการเสียชีวิตเกี่ยวเนื่องกับวัคซีนหรือไม่

เมื่อวันที่ 5 มกราคม สำนักข่าว แฟรนซ์ 24 รายงานว่า นาง โซเนีย อาเซเวโด เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หญิง ชาวโปตุเกส วัย 41 ปี เสียชีวิตปริศนา เมื่อวันปีใหม่ที่ผ่านมา หรือ 48 ชั่วโมงหลังจากที่เธอเพิ่งได้รับวัคซีนไฟเซอร์ วัคซีนต้านโควิด

โดยแม่ของผู้ตายได้ให้สัมภาษณ์ นางอาเซเวโด ไม่ได้แสดงอาการไม่พึงประสงค์ หลังจากรับวัคซีนต้านโควิด-19 ซึ่งแม่ผู้ตายกล่าวว่าเธออยากทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกสาวของเธอเสียชีวิต ด้านเจ้าหน้าที่ฉีดวัคซีนที่ยืนยันแบบเดียวกัน

ขณะที่ทางการโปรตุเกสได้ออกมาแสดงความเสียใจกับการเสียของนาง อาเซเวโด พร้อมทั้งยืนยันว่ากำลังชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิตอยู่ คาดว่าจะทราบพลในวันพรุ่งนี้

อังกฤษ เริ่ม ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา เป็นชาติแรกของโลก

ชาย อังกฤษ วัย 82 ปี กลายเป็นคนแรกของโลกที่อยู่นอกการทดลอง ที่เข้ารับการ ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา วัคซีนต้านโควิด-19 

เมื่อวันที่ 4 มกราคม สำนักข่าว BBC ของประเทศอังกฤษรายงานว่า สำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ หรือ NHS ได้ทำการ ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา กับนาย ไบรอัน พิงค์เกอร์ ชายวัย 82 ปี ซึ่งถือเป็นชายคนแรกที่ได้รับวัคซีนชนิดดังกล่าว

โดยนาย พิงค์เกอร์ เกิดและโตจากเมืองออกซ์ฟอร์ด ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเขารู้สึกภาคภูมิใจมากที่วัคซีนแอสตราเซเนกาถูกผลิตขึ้นในเมืองออกซ์ฟอร์ด พร้อมกล่าวชื่นชมเจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลทุกคน ซึ่งเขาหวังว่าเขาจะได้ร่วมฉลองครบรอบ 48 ปีกับภรรยาของเขาในปีนี้

ด้าน แซม ฟอสเตอร์ นางพยาบาลประจำโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ได้กล่าวว่าเธอรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ฉีดวัคซีนให้กับนาย พิงค์เกอร์ และยังได้แสดงความคาดหวังว่าเจ้าหน้าที่แพทย์จะได้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาให้กับประชาชนและเจ้าหน้าที่แพทย์อีกหลายคนในสัปดาห์ถัดจากนี้

ขณะที่นายแมท แฮนค็อก รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ กล่าวว่าวัคซีนแอสตราเซเนกาจะเป็นก้าวสำคัญในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งเขารู้สึกดีใจที่อังกฤษเป็นชาติแรกที่เริ่มฉีดวัคซีนชนิดดังกล่าว

วันที่ 22 ก.ค. 2565 นายมนตรี เดชาสกุลสม รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมทางหลวง ได้ออกมาเปิดเผยว่า นาย ศักดิ์สยาม ชิบชอบ รมว.คมนาคม ได้สั่งการให้กรมทางหลวงลงพื้นที่ดังกล่าว เพื่อตรวจสอบและหาสาเหตุอย่างเร่งด่วนแล้ว

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป