ได้มีการหลุดออกมาของวันเปิดตัวของ Ghostwire: Tokyo เกมส์ปราบผี ณ กรุงโตเกียว ซึ่งจะทำการปล่อยตัวภายในวันที่ 25 มีนาคม 2565 (2 ก.พ. 2565) หลังจากที่เงียบหายไปนาน ก็ได้มีการหลุดออกมาของวันเปิดตัวของเกมส์ล่าปราบผี/สิ่งลึกลับของญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว – Ghostwire: Tokyo จาก Tango Gameworks สตูดิโอภายใต้การควบคุมของ Shinji Mikami และ Bethesda Softworks
จากการเผลอหลุดออกมาอย่างเป็นทางการของช่อง Youtube – PlayStation
ตัวเกมส์จะถูกปล่อยตัวภายในวันที่ 25 มีนาคม 2565 และนอกจากในส่วนของวันที่แล้ว ยังมีข้อมูลของผู้ที่สั่งจองตัวเกมส์ล่วงหน้า และโอกาสในการเล่นเกมส์ก่อนวันปล่อยตัวอย่างเป็นทางการดังกล่าวอีกด้วย
โดยผู้เล่นที่ทำการซื้อตัวเกมส์ในรูปแบบของ Deluxe Edition จะได้รับการเข้าถึงตัวเกมส์ล่วงหน้า 3 วัน และเนื้อหาพิเศษ : ชุดชิโนบิ, มีดคุไน และแพ็คเครื่องแต่งกายทั่วไปภายในเกมส์ (Shinobi Outfit, Kunai Weapon and Streetwear Fashion Pack)
ก่อนหน้านี้ตัวเกมส์ได้ปรากฏขึ้นบนหน้าร้านค้า – PlayStation Store พร้อมทั้งได้เปิดเผยวันปล่อยตัวที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับที่ปรากฏในข่าวนี้ด้วย ซึ่งก็สอดคล้องกับการประกาศเลื่อนของ Bethesda ที่กล่าวว่าเกมส์จะถูกเลื่อนออกไปเป็นภายในต้นปี 2022
คำบรรยายของตัวเกมส์ Action Horror นี้ได้กล่าวว่า “ประชากรเกือบทั้งหมดของกรุงโตเกียวได้หายไปอย่างฉับพลัน และผู้เยี่ยมเยือนที่เหนือธรรมชาติจากต่างโลกได้มาแทนที่ผู้คนบนท้องถนนของเมืองแห่งนี้”
“ในฐานะของ Akito, หนึ่งในมนุษย์ที่ยังเหลือรอดอยู่ คุณจะต้องรวมมือกับวิญญาณนามว่า KK เพื่อหยุดมหันตภัยเหนือธรรมชาติที่กำลังคุกคามเมืองโตเกียวนี้”
ด้วยการที่ Xbox/Microsoft ได้ทำการควบรวมกิจการของ ZeniMax Media ทำให้ตัวเกมส์ที่จะลงให้เฉพาะ PlayStation นี้ จะถูกพัฒนาลงให้กับเครื่องเล่น Xbox ด้วยเช่นกัน โดยคาดว่าจะเป็นไปภายในปี 2023 (2566)
คนรุ่นใหม่จะประกอบอาชีพที่มีหลากหลายบทบาท หรือ “Polygamous Careers” และทำให้โลกขององค์กรเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คนรุ่นใหม่ที่ก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานจะเลือกประกอบอาชีพหลากหลายด้าน หรือที่เรียกว่า “Polygamous Careers” ความต้องการที่จะสร้างรายได้และเติมเต็มชีวิตผ่านการทำงานในหลายๆ ด้านจะช่วยดึงดูดพนักงานให้อยู่กับองค์กร นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในสถานที่ทำงาน และช่วยให้บริษัทสามารถสรรหาบุคลากรชั้นนำที่ยากจะเข้าถึง อาชีพการงานของแต่ละคนจะมีลักษณะเป็นพอร์ตโฟลิโอที่ระบุผลงานจากโครงการต่างๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นดีไซเนอร์ วิศวกร พนักงานขาย หรือนักลงทุนก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น Polywork เป็นพัฒนาการที่ทันสมัยของ LinkedIn โดยมีการรวบรวมข้อมูลโปรไฟล์ของบุคคลอย่างละเอียดในระดับโครงการย่อยและผลงานต่างๆ แทนที่จะระบุเฉพาะตำแหน่งงาน ดังนั้นจึงอาจมีการระบุรายละเอียดต่างๆ ของงานอย่างเช่น “เขียนโค้ด” “อัพเดตแอป iOS” หรือ “เป็นวิทยากรในการประชุมสัมมนา” ในโลกของการทำงานแบบ Polygamous Career เหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มีความสำคัญมากกว่า และอีกหนึ่งบริษัทที่น่าสนใจก็คือ Braintrust ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ “บุคลากรเป็นเจ้าของ” โดยบริษัทจะสามารถว่าจ้างกลุ่มฟรีแลนซ์และทำงานร่วมกันได้โดยไม่ต้องผ่านคนกลางหรือเสียค่าธรรมเนียมในการสรรหาบุคลากร และท้ายที่สุดแล้ว เราก็จะได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้นจากการทำงานที่เราชอบ หรือ “Tune-In Jobs” (รู้สึกเต็มอิ่มและมีส่วนร่วมอย่างมากกับงานที่ทำอยู่) ซึ่งต่างจาก “Tune-Out Jobs” (ซึ่งเราจะสนใจแต่เฉพาะเวลาเข้า-ออกงาน) และโลกของเราก็จะพัฒนาไปข้างหน้าโดยอาศัยบุคลากรที่มีส่วนร่วมกับงานอย่างจริงจัง
การเติบโตของประสบการณ์แบบ Immersive จะทำให้การสร้างผลงาน 3 มิติกลายเป็นกระแสหลัก
“เมต้าเวิร์ส” (Metaverse) ทำให้การเล่นเกม การติดต่อกับเพื่อนๆ และทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานภายในโลกเสมือนจริงเป็นแบบเรียลไทม์ คณะกรรมการยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าอุปกรณ์ใดจะถูกใช้ในการสัมผัสประสบการณ์ดังกล่าวที่สถานศึกษา ที่ทำงาน และที่บ้าน แต่เทรนด์นี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และทุกคนจะเข้าไปมีส่วนร่วมเหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตามประสบการณ์นี้จะน่าเบื่อและไม่ได้รับความนิยม ถ้าหากไม่มีการใส่คอนเทนต์แบบอินเทอร์แอคทีฟ 3 มิติที่ดึงดูดและมีการปรับแต่งแบบเฉพาะบุคคล รวมไปถึงสื่อประเภท Immersive แต่ปัญหาคือ คอนเทนต์ 3 มิติเป็นสิ่งที่สร้างยาก โดยเมื่อก่อนนี้ ในการสร้างวัตถุ 3 มิติ จะต้องใช้โปรแกรมสร้างแบบจำลองที่ซับซ้อน และมีการคำนวณทางคณิตศาสตร์มากมาย จากนั้นก็จะต้องใช้โปรแกรมอื่นๆ อีกหลายโปรแกรมสำหรับการวาดภาพประกอบและเรนเดอร์
เราได้เรียนรู้ว่านักออกแบบส่วนใหญ่ต้องการที่จะเริ่มต้นจากวัตถุ 3 มิติในสต็อก แทนที่จะต้องสร้างขึ้นใหม่ตั้งแต่ต้น และวัตถุ 3 มิติในสต็อกที่ว่าจะนี้จะต้องสามารถกำหนดค่าพารามิเตอร์ ควบคุมจัดการได้ง่ายเพื่อรองรับการทำงานครีเอทีฟ โดยปราศจากความยุ่งยากซับซ้อน ชุด Substance 3D ที่ประกอบด้วยเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณสามารถปั้นชิ้นงานวัตถุ 3 มิติ (เหมือนกับงานปั้นดิน) ด้วยการสวมใส่เฮดเซ็ตสำหรับ Virtual Reality (VR) จากนั้นก็ปรับแต่งเพิ่มเติมในโปรแกรมเดสก์ท็อปเพื่อทำให้ดูสมจริงมากขึ้น เราทุกคนจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบ 3 มิติได้ทันทีที่ประสบการณ์แบบ Immersive กลายเป็นที่แพร่หลายในวงกว้าง
ทำให้ AR/VR headset ตัวนี้นั้น ยังคงเป็นความลับที่เราต้องรอติดตามกันต่อไป ทั้งนี้แล้วก็หวังว่าทางแอปเปิ้ลนั้นจะแก้ไขปัญหาได้เร็ว และสมบูรณ์ ซึ่งเราก็ติดตามกันต่อไปจนกว่ามันจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป